วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สามก๊ก ฉบับนายทุน ตอน โจโฉ นายกฯ-ตลอดกาล



วิพากษ์หนังสือ



วิพากษ์หนังสือ สามก๊ก ฉบับนายทุน ตอน โจโฉ นายกฯ-ตลอดกาล
ผู้เขียน: ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
สำนักพิมพ์: ดอกหญ้า 2000
พิมพ์ครั้งแรก: พ.ศ.2494
วิพากษ์โดย นายจิรายุ โอวัฒนะสิน                           
สามก๊กนับเป็นสุดยอดของวรรณกรรมจีน อภิมหากาพย์แห่งไฟสงครามที่แต่ละก๊กมีความต้องการจะรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว โดยสามก๊กฉบับอื่น ๆ มักจะเขียนให้วุยก๊ก ก๊กของโจโฉให้เป็นผู้ร้าย แล้วจ๊กก๊ก ก๊กของเล่าปี่เป็นพ่อพระ ซึ้งหนังสือเล่นนี้ นับเป็นการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสามก๊กที่แตกต่างจากเล่มอื่น ๆ โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเรื่องราวตั้งแต่ โจโฉยังเป็นผู้พันทหารม้าจนถึงตำแหน่งสูงสุดสมุหนายก ที่มีอำนาจล้นฟ้าเทียบเท่ากับองค์ฮ่องเต้ ผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน
มุมมองต่าง ๆ ของหนังสือเล่มนี้ที่สื่อให้ผู้อ่านได้เห็น ซึ้งผู้วิพากษ์จะแบ่งออกเป็น 5 มุมดั้งนี้
1.คุณธรรม
โจโฉนับเป็นคนแรก ๆ ตั้งแต่เริ่มเรื่องของวรรณกรรมสามก๊ก ที่เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดในราชสำนัก ราชวงศ์ฮั่น ที่ตั้งแต่ยุคขันทีเรืองอำนาจจนถึงตั๋งโต๊ะตั้งต้นเป็นใหญ่ โจโฉเป็นผู้แรกที่คิดจะสังหาร ทรราชตั๋งโต๊ะเพื่อหวังจะฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นที่เสื่อมทราม ซึ้งถ้าธรรมดาทั่วไป เรื่องที่เกี่ยวพันการบ้านเมืองที่อยู่ในช่วงวิกฤตจะมีสักกี่คนที่จะเข้ามาจัดการ แม้ตัวเองมีกำลังน้อยนิดก็ตาม โดยส่วนใหญ่ก็จะเอาตัวรอดไว้ก่อนเพื่อความสุขสบายส่วนตน หรือตอนที่จูล่งฝ่าทัพโจโฉเพื่อช่วยอาเต๊าบุตรของเล่าปี่ที่ยังเป็นเด็กทารก จูล่งได้เอาอาเต๊าห่อผ้าแล้วผูกคอขึ้นม้าเพื่อฝ่าวงล้อมออกไป โจโฉได้ยืนดูการรบอยู่บนภูเขา เห็นจูล่งอุ้มเด็กรบอยู่คนเดียว ก็ก็ได้สั่งห้ามทหารยิงธนูใส่ จูล่งจึงพาอาเต๊ากลับไปหาเล่าปี่ได้อย่างปลอดภัย
2.การเลือกใช้คน
โจโฉนับเป็นผู้นำที่ความคิดแปลกและแตกต่างจากผู้นำก๊กอื่น ๆ ในการคิดอ่านใช้คนในการทำศึกสงครามก็ดี หรืองานราชการก็ดี จากเหตุการณ์ล่อกวนอูมาติดกับให้มารับราชการ โจโฉนั้นรู้ดีว่ากวนอูเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมสูงส่ง แต่กระนั้นแล้ว โจโฉก็ทำทุกวิธีทางเพื่อซื้อใจกวดอูมารับใช้ให้ได้ท้ายสุดก็ไม่เป็นผล มีประโยคหนึ่งในหนังสือกล่าวว่า คิดขึ้นมาแล้วก็น่าสงสารโจโฉที่พยายามทุกวิถีทางที่จะหาคนดีมาใช้ในราชการ...โจโฉจึงนับว่าเป็นคนอาภัพในเรื่องบริวารอยู่มาก หรือครั้งที่แม่ทัพ แฮหัวตุ้น แพ้กลศึกที่ขงเบ้งวางไว้ พอตนแพ้ก็ได้สั่งให้ทหารเอาเชือกมัดตัวเองไว้แล้วกลับไปรับโทษกับโจโฉ แต่กระนั้นแล้วโจโฉได้สั่งให้แก้มัด แล้วมีคำสั่งว่า ให้เตรียมทัพใหญ่ ทหารห้าแสน เตรียมบุกปรามหัวเมืองภาคใต้ด้วยตนเอง นี่จึงแสดงให้เห็นว่าโจโฉ เป็นผู้นำที่เข้าใจลูกน้องเป็นอย่างดี เข้าใจในวิธีการซื้อใจอย่างแท้จริง
3.การวางตัว รู้จักที่ยืนของตัวเอง
ผู้พันทหารม้าสู่สมุหนายก โจโฉเรียกได้ว่ามีการพัฒนาการตำแหน่งได้รวดเร็วพอสมควร จาการสร้างผลงานให้รับราชสำนัก อีกทั้งเป็นผู้นำปราบกฎบก็ดี ช่วยเหลือราชวงศ์ก็ดี ครั้งหนึ่งหลังทำศึกปราบง่อก๊ก ก๊กของชุนกวนเสร็จ ฮ่องเต้ได้ประทานรางวัลให้ คือ โจโฉได้สิทธิ์พิเศษไม่ต้องเข้าร่วมประชุมขุนนางตอนที่ท้องพระโรงจะเข้าเฝ้าก็ต่อเมื่อมีคำสั่งให้เข้าเฝ้า สามารถพกอาวุธเข้าเขตพระราชฐานได้และเมื่อเจอฮ่องเต้ก็ไม่ต้องถวายบังคม นี่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการให้เกียรติของฮ่องเต้ที่มีต่อโจโฉผู้ที่ช่วยเหลือราชวงศ์ มีอยู่ตอนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ตัวเองนั้นไม่ได้ต้องการจะเป็นฮ่องเต้ เพียงแต่ต้องการเป็นขุนนางที่ช่วยเหลือฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น ความว่า ...บัดนี้เรามีใจกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ คิดจะปราบปรามให้แผ่นดินเป็นสุข ความชอบจะได้ปรากฏไปข้างหน้า ว่าเราได้เป็นนายทหารช่วยทำนุบำรุงแผ่นดิน ครั้นพระเจ้าเหี้ยนเต้ได้สมบัติก็สมความคิดเราอยู่แล้ว...เป็นบ้างส่วนของประโยคที่โจโฉพูดกับแม่ทัพ ทหารนายกอง หลังแตกทัพเรือ
4.หักหลัง เอาตัวรอด คือ วิถีสู่ความยิ่งใหญ่ !?
ข้ายอมทรยศต่อคนทั้งแผ่นดิน แต่ข้าจะไม่ยอมให้ใครมาทรยศข้าคำพูดนี้ฟัง ๆ ดูก็เหมือนธรรมดา ๆ แต่ถ้าคิดลงไปอีกก็จะพบว่า เหมือนกับคนที่ถือดาบพร้อมที่จะฆ่าคนทั้งแผ่นดิน เพื่อรักษาเสถียรภาพของตัวเองไว้ หลายครั้งที่โจโฉพร้อมที่จะกำจัดหองข้างแคร่ทุกเมื่อ เพื่อรักษาชีวิตตัวเองไว้ ไม่ว่าจะเป็นญาติ แม่ทัพนายกองคนไหนที่สงสัย แม้แต่แกล้งละเมอฆ่าคนรับใช้ตัวเอง ที่ทำงานมากว่าสิบปี เพื่อขู่ทหารที่เฝ้าเวรยาม
5.นายกฯตลอดกาล

ช่วงบั้นปลายชีวิต โจโฉป่วยเป็นไมเกรน มีอาการปวดหัวอยู่เรื่อย ๆ อาการป่วยก็หนักขึ้นทุกวัน นอนไม่หลับทำให้เพ้อถึงคนที่ตนเคยฆ่า เพราะด้วยความจำเป็นแต่เมื่อทำไปแล้วไม่สบายใจถึงเป็นเช่นนี้ทำศึกมาสามสิบกว่าปี ข้าศึกเหนือ ใต้ ออก ตก ก็ไปปราบ คงเหลือแต่ เล่าปี่ ซุนกวน ที่ยังปราบไม่สำเร็จ และได้ฝากฝั่งขุนนางที่เหลือให้ช่วยทำการใหญ่ให้สำเร็จ ท้ายสุดก็สิ้นชีพในตำแหน่ง และได้ยังสั่งให้สร้างสุสานของตน เจ็ดสิบแห่ง ป้องกันไม่ให้ศัตรูรู้ที่ตั้งแท้จริง เพื่อที่จะได้ไม่ให้ขุดเอาศพของตนมาทำการประจาน เป็นเรื่องธรรมดาที่โจโฉมีปรปักษ์มาก เพราะอุดมการณ์ความตั้งใจที่จะรวบรวมแผ่นดินนั้น ย่อมต้องขัดผลประโยชน์กับคนบางกลุ่มแน่นอน จะเห็นได้ว่าโจโฉนั้นเป็นคนธรรมดา ทั่วๆไปย่อมประกอบไปด้วยความโกรธ โลภ หลงและความปรารถนาต่าง ๆ กิเลสต่าง ๆ เหล่านี้โจโฉปฎิบัติเป็นครั้งคราว ความคิดที่ผิดพลาดไปก็ไม่ได้มากน้อยกว่าคนอื่น ๆ เท่าไหร่ จึงทำให้เจตนาดีของโจโฉที่ต้องการทำนุบำรุงบ้านเมือง ถูกบดบังโดยฝ่ายที่เป็นปรปักษ์ นี่เป็นเพียงมุมมองส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ที่ได้เขียนเรื่องราวของโจโฉผู้ที่เป็นนายกฯตลอดกาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น